analyticstracking
หัวข้อ   “ สุข ทุกข์ คนไทย
เรื่องที่ทำให้คนไทยมีความสุข อันดับ 1 ร้อยละ 60.6 มีความสุขที่ไม่ติดเชื้อ COVID-19
อันดับ 2 ร้อยละ 55.0 ไม่ต้องกักตัว ล็อคดาวน์
เรื่องที่ทำให้คนไทยมีความทุกข์ อันดับ 1 ร้อยละ 54.1 กลัวการแพร่ระบาดรอบ 2 และกลัวติด COVID-19
อันดับ 2 ร้อยละ 46.3 รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ข้าวของราคาแพง
ทั้งนี้ เรื่องที่กังวลมากที่สุด อันดับ 1 ปัญหาข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง
อันดับ 2 ปัญหาการกลับมาแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19
ด้านความหวังของคนไทย อันดับ 1 คนไทยหวังอยากให้เศรษฐกิจดีมีเงิน มีทองใช้มากกว่านี้
อันดับ 2 หวังอยากให้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ ยุติธรรม บังคับใช้เท่าเทียมกัน
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องในวันที่ 10 ตุลาคม เป็นวันสุขภาพจิตโลก กรุงเทพโพลล์
โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน
เรื่อง “สุข ทุกข์ คนไทย” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
จำนวน 1,189 คน พบว่า
 
                  เรื่องที่มีความสุขมากที่สุด ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้
คือ ไม่ติดเชื้อ COVID-19 คิดเป็นร้อยละ 60.6
รองลงมาคือ ใช้ชีวิตได้ปกติขึ้น
ไม่ต้องกักตัว ล็อคดาวน์ คิดเป็นร้อยละ 55.0 และมีชดเชยวันหยุดยาวหลายเดือนได้เที่ยว
ได้อยู่กับครอบครัว คนรัก มากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 20.5
 
                  ส่วนเรื่องที่มีความทุกข์มากที่สุด ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่
ในขณะนี้คือ กลัวการแพร่ระบาดรอบ 2 และกลัวติด COVID-19 คิดเป็นร้อยละ
54.1
รองลงมาคือ รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ข้าวของราคาแพง คิดเป็นร้อยละ 46.3
และเงินเดือน รายได้ลดลง ไม่มีโบนัส คิดเป็นร้อยละ 30.6
 
                  เมื่อถามว่าปัจจุบันปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เรื่องใดที่ทำให้ท่านเครียด วิตกกังวล
มากที่สุดพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.2 เห็นว่าเป็นปัญหาข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง
รองลงมาร้อยละ 46.7
เป็นปัญหาการกลับมาแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 และร้อยละ 43.6 เป็นปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง การชุมนุม
 
                  สุดท้ายเมื่อถามถึงความหวังที่อยากได้มากที่สุดพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.1 อยากให้เศรษฐกิจดี
มีเงิน มีทองใช้มากกว่านี้
รองลงมาร้อยละ 57.6 อยากให้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ ยุติธรรม บังคับใช้เท่าเทียมกัน และร้อยละ
56.1 อยากให้บ้านเมืองสงบ ปลอดภัย ไร้การจี้ปล้น อาชญากรรม
 
 
                  รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
 
             1. เรื่องที่มีความสุข ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ไม่ติดเชื้อ COVID-19
60.6
ใช้ชีวิตได้ปกติขึ้น ไม่ต้องกักตัว ล็อคดาวน์
55.0
มีชดเชยวันหยุดยาวหลายเดือนได้เที่ยวได้อยู่กับครอบครัว คนรัก มากขึ้น
20.5
ได้เงินช่วยเหลือ มาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ
18.9
มีงานมีเงินใช้ดีกว่าเดิม
14.8
ได้กลับไปใช้ชีวิตอยู่บ้านเกิด
8.7
ค้าขาย ธุรกิจดีขึ้น
4.5
อื่นๆ เช่น ไม่มีความสุข สุขภาพแข็งแรง
3.6
 
 
             2. เรื่องที่มีความทุกข์ ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
กลัวการแพร่ระบาดรอบ 2 และกลัวติด COVID-19
54.1
รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ข้าวของราคาแพง
46.3
เงินเดือน รายได้ ลดลง ไม่มีโบนัส
30.6
การเป็นหนี้ เช่น ผ่อนบ้าน /รถ
25.0
ตกงาน ไม่มีงานทำ
11.7
ปัญหาการเรียน
6.7
อื่นๆ เช่น ไม่มีเรื่องทุกข์ อาการเจ็บป่วย การชุมนุม ไม่ได้ไปต่างประเทศ
15.0
 
 
             3. ข้อคำถาม “ปัจจุบันปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เรื่องใดที่ทำให้ท่านเครียด
                  วิตกกังวล มากที่สุด” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ปัญหาข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง
53.2
ปัญหาการกลับมาแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19
46.7
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง การชุมนุม
43.6
ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
36.8
ปัญหาการเปิดประเทศ รับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
36.0
ปัญหายาเสพติด
31.4
ปัญหาการจี้ปล้น อาชญากรรม และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
30.0
ปัญหาครูทำร้ายเด็กในโรงเรียน
26.4
ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เท่าเทียมกัน
25.9
ปัญหาการเยียวยาจากพิษ COVID-19
10.8
อื่นๆ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจไม่ดี ปัญหาความประพฤติเยาวชน
6.4
 
 
             4. ข้อคำถาม “ความหวังที่อยากได้มากที่สุด”
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
อยากให้เศรษฐกิจดีมีเงิน มีทองใช้มากกว่านี้
64.1
อยากให้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ ยุติธรรม บังคับใช้เท่าเทียมกัน
57.6
อยากให้บ้านเมืองสงบ ปลอดภัย ไร้การจี้ปล้น อาชญากรรม
56.1
อยากให้ไม่มีการระบาดของเชื้อ COVID-19 รอบ 2
53.5
อยากให้มีการผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อ COVID-19 ได้
52.4
อยากให้แก้ปัญหาค่าครองชีพสูง ข้าวของแพง
49.8
อยากให้มีงานทำ ไม่มีการว่างงาน
34.1
อยากให้ช่วยเหลือทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากพิษ COVID-19
33.6
อยากถูกลอตเตอรี่
29.0
อยากให้มีการเลือกตั้งใหม่
28.8
อื่นๆ เช่น ไม่หวังอะไร ไม่มีการคอร์รัปชั่น เรื่องสุขภาพดี
1.7
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนถึงเรื่องที่มีความสุข ความทุกข์ ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้
                  2) เพื่อสะท้อนถึงปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เรื่องใดที่ทำให้เครียด วิตกกังวล มากที่สุด
                  3) เพื่อสะท้อนถึงความหวังที่อยากได้มากที่สุด
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 5-7 ตุลาคม 2563
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 10 ตุลาคม 2563
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
604
50.8
             หญิง
585
49.2
รวม
1,189
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
87
7.3
             31 – 40 ปี
154
13.0
             41 – 50 ปี
303
25.5
             51 – 60 ปี
330
27.7
             61 ปีขึ้นไป
315
26.5
รวม
1,189
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
682
57.3
             ปริญญาตรี
391
32.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
116
9.8
รวม
1,189
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
159
13.4
             ลูกจ้างเอกชน
240
20.2
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
411
34.5
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
64
5.4
             ทำงานให้ครอบครัว
4
0.3
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
259
21.8
             นักเรียน/ นักศึกษา
18
1.5
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
34
2.9
รวม
1,189
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2898